บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 231 เข้าชมวันนี้
  • 75,247 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,560,184 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


ถ้าจะขับเรือยอร์ชเข้าประเทศไทยจะอยู่ได้นานเท่าไร จึงจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

วันที่ : 1 ตุลาคม 2559 21:24:20
จำนวนผู้เข้าชม : 16,565

คำถาม :

ถ้าจะขับเรือยอร์ชเข้าประเทศไทยจะอยู่ได้นานเท่าไร จึงจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า

คำตอบ :

  1. เรือสำราญและเรือยอร์ชที่นำเข้ามากับเจ้าของเป็นการชั่วคราวและนำกลับไปภาย ในไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่นำเข้ามาจะได้รับการยกเว้นอากรโดยมีระเบียบที่จะต้องแจ้ง ต่อศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่นำเข้า ดังนี้
    • ให้รายงานเรือเข้าต่อด่านศุลกากร ภายใน 24 ชั่วโมง นับจากวันมาถึง
    • กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มใบขนสินค้าพิเศษของผู้นำเข้า รายละเอียดของเรือพร้อมสำเนา 2 ฉบับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบและรับรองเอกสาร ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมอบสำเนาใบขนสินค้าพิเศษคืนให้เจ้าของเรือเก็บไว้ 1 ฉบับ และให้เก็บเอกสารนี้ไว้ตลอดเวลา อย่าทำหายเป็นอันขาด
  2. ในแบบฟอร์มใบขนสินค้าพิเศษ จะกำหนดให้เจ้าของเรือทำสัญญาประกันไว้กับด่านศุลกากรที่จะนำเข้าว่าจะส่ง เรือนั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยใช้วิธีค้ำประกัน ตนเอง และเมื่อเดินทางกลับออกไปจะต้องนำสำเนาใบขนสินค้าพิเศษที่เจ้าหน้าที่ ศุลกากรมอบไว้ขณะนำเข้ามาให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจรับรองด้วย
  3. หากไม่สามารถนำเรือกลับออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้นำเข้าจะต้องเสียค่าปรับให้แก่กรมศุลกากร โดยมีอัตราค่าปรับวันละ 500 บาท


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562 14:52:47
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร