บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 138 เข้าชมวันนี้
  • 139,184 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,475,531 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


กรณีนำเข้าเครื่องมือแพทย์และของมาถึงท่าเรือแล้ว แต่ผู้นำเข้าต้องการจะส่งกลับออกไป ต้องทำอย่างไร

วันที่ : 8 มีนาคม 2562 13:09:45
จำนวนผู้เข้าชม : 31,159

คำถาม :

กรณีนำเข้าเครื่องมือแพทย์และของมาถึงท่าเรือแล้ว แต่ผู้นำเข้าต้องการจะส่งกลับออกไป ต้องทำอย่างไร

คำตอบ :

การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ต่อมาภายหลังผู้นำเข้ามีความประสงค์จะส่งสินค้ากลับออกไป  สามารถยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ได้ แต่หากสินค้านั้นเป็นของควบคุมการนำเข้า ของนั้นต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน จึงจะสามารถดำเนินการส่งของกลับได้
เครื่องมือแพทย์เป็นสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตก่อนนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนั้น เมื่อนำเข้ามาและประสงค์จะขอส่งกลับ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี
   1. กรณีมีใบอนุญาตให้นำเข้าแล้ว ให้ตรวจสอบว่าของที่จะส่งกลับออกไปเป็นของที่ต้องมีใบอนุญาตส่งออกหรือไม่ ถ้ามีต้องขอใบอนุญาตส่งออกก่อนดำเนินพิธีการทางศุลกากร กรณีนี้สินค้าอยู่ในอารักขาของศุลกากร ยังไม่ได้มีการตรวจปล่อยและรับของไปจากศุลกากร ให้ดำเนินการดังนี้
       1.1 ให้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออกโดยใช้สิทธิ Re-Export ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และชำระค่าอากรขาเข้ากรณีใช้สิทธิ Re-Export หนึ่งในสิบส่วนหรือไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มได้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
       1.2  ยื่นคำร้องขอปฏิบัติพิธีการส่งของกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (Re-Export) ใบขนสินค้าขาเข้า  ใบขนสินค้าขาออก และใบอนุญาตนำเข้า ณ ห้องปฏิบัติพิธีการศุลกากร ท่าที่นำเข้า 
       1.3  ดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก
   2. กรณีไม่มีใบอนุญาตให้นำเข้า ผู้นำเข้าต้องติดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกก่อน
       2.1  กรณีไม่ได้รับใบอนุญาต จะไม่สามารถดำเนินพิธีการใด ๆ ได้ เนื่องจากถือเป็นของต้องห้ามในการนำเข้า ให้ยกของกลางให้เป็นของแผ่นดิน
       2.2  กรณีได้รับใบอนุญาตถือเป็นการได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า ให้ดำเนินพิธีการศุลกากรตามข้อ 1 แต่เนื่องจากได้รับใบอนุญาตหลังวันนำเข้า  เจ้าหน้าที่จะจัดส่งเรื่องไปพิจารณาความผิด ณ ฝ่ายคดี โดยเสียค่าปรับร้อยละ 10 ของราคาของ ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท


วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม 2562 11:57:07
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการศุลกากร สำนักงานเลขานุการกรม (ศบศ. สลข.)
กรมศุลกากร เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110
หมายเลขโทรศัพท์ : 02-667-7000 ต่อ 20-5844 ถึง 20-5848

ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร