บริการอิเล็กทรอนิกส์

สถิติการเข้าชมเว็บ

  • 4,427 เข้าชมวันนี้
  • 91,613 เข้าชมเดือนนี้
  • 14,427,960 เข้าชมทั้งหมด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
กรมศุลกากร

เลขที่ 1 ถ.สุนทรโกษา คลองเตย กทม. 10110

สอบถามข้อมูลการนำเข้าส่งออก

Call Center : 1164
อีเมล์ : 1164@customs.go.th

ติดต่อหน่วยงานภายใน

โทร : 02-667-6000
โทร : 02-667-7000

ติดตามหนังสือราชการ

โทร : 02-667-6107-8
โทรสาร : 02-667-7767
อีเมล์ : saraban@customs.go.th

รับเรื่องร้องเรียน :

Call Center : 1332
อีเมล์ : ctc@customs.go.th


การนำของเข้าทางไปรษณีย์

การส่งของทางไปรษณีย์/พัสดุเร่งด่วน

การส่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ จะผ่านการดำเนินการโดย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

การส่งของทางไปรษณีย์ สามารถดำเนินการได้ 5 ประเภท คือ (1)ทางอากาศ (2)ภาคพื้น (3) EMS (4)ไปรษณีย์ลงทะเบียน (5)ไปรษณีย์ธรรมดา ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทย จะถูกคัดแยกออกเป็น 3 ประเภท และ ปฏิบัติพิธีการศุลกากร ดังนี้

ประเภทที่ 1 คือ ของซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรือตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและ ไม่มีราคาในทางการค้า และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้า เป็นของยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับต่อไป

ประเภทที่ 2 คือ ของที่ส่งจากผู้ส่งคนหนึ่งถึงผู้รับคนหนึ่งในคราวเดียวกันหรือเข้ามาถึงพร้อมกัน ไม่ว่าจะมีจำนวนกี่หีบห่อหากมีราคา FOB (Free On Board) รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด หรือของที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์สินค้าก่อนปล่อย เป็นของต้องชำระอากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรเปิดตรวจของต่อหน้าเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไทย จำกัด ประเมินราคาและค่าภาษีอากรทุกประเภท เจ้าหน้าที่ศุลกากรส่งมอบของให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำจ่ายให้ผู้รับ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ที่อยู่ของผู้รับ ผู้รับของ นำ "ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ" ที่ระบุที่ทำการไปรษณีย์ให้ไปติดต่อรับของ / ชำระภาษีอากร ไปชำระภาษีอากร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ การโต้แย้งการประเมินภาษีอากร มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้

  1. ให้ผู้รับของจัดทำคำร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร ยื่นต่อที่ทำการไปรษณีย์ที่ไปติดต่อรับของ และ ยังไม่ต้องชำระค่าภาษีอากรแต่อย่างใด พร้อมแนบ "ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ" และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักฐานการซื้อขาย หลักฐานการชำระเงิน (ขอรับแบบฟอร์มคำร้องได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ หรือสามารถพิมพ์แบบคำร้องได้ที่ www.postalcustoms.com) ผู้รับของสามารถแจ้งความประสงค์ว่า จะรอรับแจ้งผลการพิจารณาจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดและไปรับสิ่งของ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ที่ระบุ หรือติดต่อขอทราบผลและรับสิ่งของด้วยตนเองที่ฝ่ายตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์ ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ อาคารศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) กรุงเทพมหานคร ซอยแจ้งวัฒนะ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10020
  2. ที่ทำการไปรษณีย์จะส่งหีบห่อของที่ขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร พร้อมคำร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากรและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์เพื่อพิจารณา
  3. ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์จะแจ้งผลการพิจารณาตามความประสงค์ที่ผู้รับของแจ้งไว้ กรณีไม่ได้แจ้งความประสงค์ จะแจ้งผลกลับมายังที่ทำการไปรษณีย์ที่ไปรับของ

ประเภทที่ 3 ของอื่นๆ นอกจากประเภทที่ 1 และ 2 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะส่งมอบของให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อนำไปเก็บรักษาในโรงพักสินค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือส่งไปที่ สำนักงาน/ด่านศุลกากรแล้วแต่กรณี ผู้รับของนำ "ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ" ไปติดต่อรับของ / ชำระภาษีอากร ณ ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ หรือสำนักงาน/ด่านศุลกากรที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับของประเภทที่ 3 สามารถดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

  1. กรณีของมีราคา FOB เกินกว่า 40,000 บาท ผู้รับของจะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าโดยการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ ได้จัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า โดยมีผู้ให้บริการ Service Counter คอยให้บริการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
  2. กรณีของมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท ผู้รับของไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินราคาและจัดเก็บค่าภาษีอากร ณ จุดเดียวกัน

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอรับสิ่งของ

  1. กรณีผู้มีชื่อรับของตามที่ระบุในใบแจ้งฯ ขอรับสิ่งของด้วยตนเอง
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับของเป็นชาวต่างชาติ)
  2. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับสิ่งของแทน
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีชื่อรับของบันทึกรายละเอียดการมอบอำนาจให้แก่ผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองทั้ง 2 ฝ่าย ที่ด้านหลังใบแจ้งฯ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา
    3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา
  3. กรณีผู้รับสิ่งของเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    1. ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัทที่ด้านหลังใบแจ้งฯ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ และลงนามรับรองสำเนา
    3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างฯ ร้าน (ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน) และ ลงนามรับรองสำเนาพร้อมประทับตราบริษัทฯ
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนา
    5. หมายเหตุ รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจต่อให้บุคคลอื่นอีกมิได้

หน่วยงานอื่นที่ร่วมให้บริการ ณ ที่ทำการส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์
ด่านอาหารและยาไปรษณีย์กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 575 1008
ด่านตรวจพืชไปรษณีย์ โทรศัพท์ 02 575 1014-5
แผนกไปรษณีย์ต่างประเทศ ศูนย์หลักสี่ โทรศัพท์ 02 984 7317
แผนกไปรษณีย์ต่างประเทศ ศูนย์กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 215 3696

มีปัญหาในการขอรับสิ่งของโปรดติดต่อ
ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ โทรศัพท์ 02 575 1009 โทรสาร 02 575 1011
หัวหน้าฝ่ายตรวจคัดไปรษณียภัณฑ์ โทรศัพท์ 02 575 1007 โทรสาร 02 575 1012
หัวหน้าฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์ โทรศัพท์ 02 575 1006 โทรสาร 02 575 1013
เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 08.30 -16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ กรมศุลกากร
111 ซอยแจ้งวัฒนะ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10020
โทรศัพท์ 02 575 1002-3 โทรสาร 02 575 1011

วิธีปฏิบัติสำหรับการส่งออกสินค้าทางไปรษณีย์

สามารถดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

1. กรณีที่ไม่ต้องทำใบขนสินค้าขาออก ให้กระทำได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งตามระเบียบข้อบังคับของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ได้แก่ การส่งของดังต่อไปนี้

  • ไม่เป็นของต้องห้ามในการส่งออก
  • ไม่เป็นของต้องกำกัดในการส่งออก
  • ไม่เป็นของต้องเสียอากร หรือค่าภาคหลวงในการส่งออก
  • การส่งจากผู้ส่งคนหนึ่งไปถึงผู้รับคนหนึ่ง ไม่ว่าจะมีจำนวนกี่ห่อ มีราคารวมกันคราวหนึ่งไม่เกิน 10,000.- บาท สำหรับของทั่วไป หรือไม่เกิน 50,000.- บาท สำหรับเพชรพลอย เครื่องรูปพรรณทองคำ และเครื่องรูปพรรณทองคำขาว
  • มิใช่การส่งออกที่ขอคืนอากร หรือขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร
  • มิใช่การส่งออกที่ขอใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา

2. กรณีไม่เป็นไปตามข้อ 1. ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบขนสินค้าขาออกทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีขั้นตอน ดังนี้

  • ผู้ส่งออก ลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการศุลกากร ที่ ฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์ (กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน)
  • ผู้ส่งออกส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกทางอิเล็กทรอนิกส์และใบกำกับการขนย้าย (โดยสามารถใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส) ชำระภาษีอากร (ถ้ามี) และ นำของมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ จากนั้นจึงนำของส่งออกไปฝากส่ง ณ ที่ทำการไปรษณีย์ นำหลักฐานการส่งออก แจ้งเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อรับรองการส่งออก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ กรมศุลกากร
111 ซอยแจ้งวัฒนะ 5 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10020
โทรศัพท์ 02 575 1002-3 โทรสาร 02 575 1011

การนำเข้า ส่งออก โดยผู้ประกอบการของเร่งด่วน (express consignment)

ผู้ประกอบการของเร่งด่วน (express consignment) คือ ผู้ที่กรมศุลกากรจดทะเบียนให้เป็นผู้รับผิดชอบการขนส่งเข้ามาใน หรือ นำออกไปนอก ราชอาณาจักร โดยให้บริการกับผู้รับฝากแบบ ประตูถึงประตู (DOOR TO DOOR) และต้องดำเนินพิธีการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกำหนดแทนผู้นำเข้าหรือ ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการเร่งด่วน ได้แก่ Fed Ex, UPS, DHL, TNT

ของเร่งด่วนที่นำเข้ามาเข้ามาจากต่างประเทศ สามารถจัดแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 เป็นเอกสาร

  • เป็นของที่ไม่ต้องเสียอากร ที่ไม่ต้องเสียอากร ตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด
  • ผู้ประกอบการของเร่งด่วนจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าในนามของผู้ประกอบการของเร่งด่วน และ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะนำไปส่งให้ผู้นำเข้า

ประเภทที่ 2 ได้แก่ของดังต่อไปนี้

  • ของที่ไม่ต้องเสียอากรตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้าแห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด
  • ของที่นำเข้าซึ่งแต่ละรายมีราคาซีไอเอฟไม่เกิน 1,500 บาท ตามประเภท 12 ภาค4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด
  • ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาในทางการค้า ตามประเภท14 ภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด
    • เป็นของไม่ต้องเสียอากร หรือของที่ได้รับยกเว้นอากร
    • ผู้ประกอบการของเร่งด่วนจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าในนามของผู้ประกอบการของเร่งด่วน และ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะนำไปส่งให้ผู้นำเข้า

ประเภทที่ 3 เป็นของที่จัดเข้าตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้าแห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 โดยแต่ละรายใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (House Air Waybill) มีราคา FOB (Free On Board) ไม่เกิน 40,000 บาท และไม่เป็นของต้องห้ามของต้องกำกัดหรือของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 หรือของที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือของที่ต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์สินค้าก่อนปล่อย

  • เป็นของต้องเสียอากร
  • ผู้ประกอบการของเร่งด่วนจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าในนามของผู้ประกอบการของเร่งด่วน และ โดยผู้ประกอบการของเร่งด่วนจะเป็นผู้ชำระภาษีอากรตามพิกัดอัตราศุลกากรแทนผู้นำของเข้า เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะนำไปส่งให้ผู้นำเข้า

ประเภทที่ 4 ของอื่น ๆ นอกจากของตามประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3

  • เป็นของต้องเสียอากร หรือ ของต้องกำกัด หรือ ของที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร หรือ ของที่ต้องส่งตัวอย่างก่อนปล่อย
  • ผู้นำของเข้าเป็นผู้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้าในระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ และผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนนำของออกไปจากอารักขาศุลกากร
อ้างอิงจาก ประกาศกรมศุลกากรที่ 66/2561 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

หมายเหตุ
ค่าขนส่งของที่ใช้กำหนดราคาศุลกากรในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร สำหรับของเร่งด่วน ให้ปฏิบัติตามลำดับ ดังนี้

  1. ใช้ค่าขนส่งตามที่ปรากฏในบัญชีราคาสินค้า (Invoice) หรือหลักฐานการจ่ายค่าขนส่งของดังกล่าว
  2. กรณีบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ไม่มีค่าขนส่งของหรือไม่มีเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าขนส่งของ ให้ใช้อัตราค่าระวางบรรทุกทางอากาศยานเฉลี่ยตาม Zone ที่กรมศุลกากรประกาศให้ใช้สำหรับของเร่งด่วน ท่านสามารถตรวจสอบอัตราค่าขนส่งของ ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้


การส่งออกของเร่งด่วน

ของเร่งด่วนที่ส่งออกไปต่างประเทศ สามารถจัดแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 ได้แก่ เอกสารต่างๆ ที่ไม่ต้องเสียอากรตามภาค 3 พิกัดอัตราขาออก แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด ผู้ประกอบการของเร่งด่วนจัดทำใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการของเร่งด่วน และ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะนำไปบรรทุกในอากาศยานเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ประเภทที่ 2 ได้แก่ ของที่ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

  1. เป็นของซึ่งไม่ต้องเสียอากรหรือได้รับยกเว้นอากร ตามภาค 3 พิกัดอัตราขาออก แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 โดยแต่ละรายใบตราส่งสินค้าทางอากาศยาน (House Air Waybil) มีราคา FOB (Free on Board) ไม่เกินฉบับละ 500,000 บาท
  2. ไม่เป็นของต้องห้ามต้องกำกัด หรือของต้องมีเอกสารการอนุญาต/อนุมัติ/รับรองในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรตามกฎหมายหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร
  3. ไม่เป็นของขอใช้สิทธิประโยชน์หรือสิทธิพิเศษทางภาษีอากรอื่นๆ เช่น เขตปลอดอากร คลังสินค้าทัณฑ์บน การคืนอากรทั่วไป การคืนอากรตามมาตรา 28 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 เขตประกอบการเสรีตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 การชดเชยค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรของส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 เป็นต้น
  4. ไม่เป็นของซึ่งขอใช้สิทธิยกเว้นอากรตามภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากรตามภาค 4 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
ผู้ประกอบการของเร่งด่วนจัดทำใบขนสินค้าขาออกในนามของผู้ประกอบการของเร่งด่วน และ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะนำไปบรรทุกในอากาศยานเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ประเภทที่ 3 ของอื่นๆ นอกเหนือจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ผู้ส่งออกจัดทำใบขนสินค้าขาออก และ เมื่อผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร จะสามารถนำของไปบรรทุกในอากาศยานเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร

ที่มา : ประกาศกรมศุลกากร ที่ 130/2561 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรเกี่ยวกับของเร่งด่วน


ipv6 ready acheker
ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ของกรมศุลกากร การใช้งานข้อมูลใด ๆ บนเว็บไซต์ ให้ใช้ได้ตามที่เว็บไซต์จัดรูปแบบไว้ให้เท่านั้น
ลิขสิทธิ์ 2015 กรมศุลกากร สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนนวัตกรรมและวิเคราะห์ระบบ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร